ภารกิจ ของ โปรตอน (โครงการดาวเทียม)

โปรตอน 1

โปรตอน 1 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรโลก ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เวลา 11:16 UTC จากฐานส่ง 81/23 ที่ไบโคนูร์คอสโมโดรม[11] แม้ว่าการปล่อยจะพบอุปสรรคจากการรั่วไหลในท่อส่งสารออกซิไดซ์ (oxidizer) ซึ่งส่งผลให้ไนโตรเจนเตตรอกไซด์ (NTO; N2O4) หกรดบนสายไฟฟ้า ในช่วงแรกของเที่ยวบินผู้เชี่ยวชาญในการส่งจรวดได้รับสัญญาณที่ระบุว่าดาวเทียมกำลังทำงานอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามในที่สุดโปรตอน 1 ก็ทำงานได้ตามปกติโดยส่งกลับข้อมูลทางฟิสิกส์ของอนุภาคคอสมิกพลังงานสูงพิเศษ ภารกิจกินเวลา 45 วัน[5] และดาวเทียมกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2508[12]

โปรตอน 2

โปรตอน 2 ที่แทบจะเหมือนกับโปรตอน 1 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 เวลา 12:28 น. UTC จากฐานส่ง 81/23 ที่ไบโคนูร์คอสโมโดรม[11] และกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509[12] ในช่วงเวลาของการส่ง ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันเชื่อว่าโปรตอนรุ่นแรกเป็นส่วนประกอบของสถานีอวกาศทดลองเนื่องจากน้ำหนักของดาวเทียมและโซเวียตใช้คำว่า "สถานี" ในการระบุถึงดาวเทียมสังเกตการณ์[13][14]

โปรตอน 3

หลังจากการทดสอบครั้งที่สามของการปล่อยจรวด УР-500code: ru is deprecated ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 เวลา 14:39 น. UTC ไม่ประสบความสำเร็จ โปรตอน 3 ก็ได้ถูกนำขึ้นสู่วงโคจรโลกในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 เวลา 12:57 น.[11] ในการทดสอบจรวดครั้งที่สี่และเป็นครั้งสุดท้าย[5] โดยเป็นดาวเทียมดวงแรก ๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ค้นหาควาร์ก และอนุภาคมูลฐานอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนย่อยของอิเล็กตรอน[9] ดาวเทียมดังกล่าวกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2509[12]

โปรตอน 4

หลังจากสิ้นสุดการทดสอบจรวด УР-500code: ru is deprecated (ปัจจุบันถูกกำหนดชื่อเป็น "โปรตอน") จรวดรุ่นนี้และรุ่นต่อมาส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการปล่อยยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ในโครงการซอนด์ (รัสเซีย: Зондcode: ru is deprecated ) อย่างไรก็ตามในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 เวลา 11:40 น. UTC ดาวเทียมโปรตอน 4 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายและมีขนาดใหญ่กว่ามากถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรผ่านจรวดโปรตอน Протон-Кcode: ru is deprecated จากฐานส่ง 81/24 ที่ไบโคนูร์คอสโมโดรม เพื่อดำเนินการค้นหาควาร์กต่อไป และเสริมการวัดรังสีคอสมิกของดาวเทียมโปรตอนรุ่นก่อนหน้า[9] ดาวเทียมโปรตอนดวงสุดท้ายนี้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โปรตอน (โครงการดาวเทียม) http://www.astronautix.com/u/ur-500.html http://archive.aviationweek.com/issue/19651108#!&p... http://articles.adsabs.harvard.edu/pdf/1970ICRC...... http://web.archive.org/web/20120209194748/http://w... http://planet4589.org/space/log/launchlog.txt //www.worldcat.org/oclc/1001823253 //www.worldcat.org/oclc/17249881 //www.worldcat.org/oclc/775599532 http://www.npomash.ru/society/en/about.htm https://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/spacecraft/display...